การอบรมเพื่อจัดทำและพัฒนาสื่อการเรียนการสอนภาษาจีนสำหรับครูไทยสอนภาษาจีนระดับประถมศึกษาในภาคเหนือ 2565 ประสบความสำเร็จอย่างราบรื่น

3466 จำนวนผู้เข้าชม  | 

การอบรมเพื่อจัดทำและพัฒนาสื่อการเรียนการสอนภาษาจีนสำหรับครูไทยสอนภาษาจีนระดับประถมศึกษาในภาคเหนือ 2565 ประสบความสำเร็จอย่างราบรื่น

การอบรมเพื่อจัดทำและพัฒนาสื่อการเรียนการสอนภาษาจีนสำหรับครูไทยสอนภาษาจีนระดับประถมศึกษาในภาคเหนือ 2565 ประสบความสำเร็จอย่างราบรื่น

วันที่  18 กันยายน  2565  สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ร่วมกับ สถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และบริษัท สิโนไทย เอ็ดดูเคชั่น เทคโนโลยี จำกัด ได้จัดการอบรมเพื่อจัดทำและพัฒนาสื่อการเรียนการสอนภาษาจีนสำหรับครูไทยสอนภาษาจีนระดับประถมศึกษาในภาคเหนือ 2565 โดยมีครูสอนภาษาจีนชาวไทยสมัครเข้าร่วมการอบรมนับร้อยคนคนจาก 30 สถานศึกษา

ในการอบรมครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากนายทวีศักดิ์ อำลา ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านนโยบายและแผนสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน นายวิรัช ลิ้มเจริญสุข ผู้อำนวยการกลุ่มงานโรงเรียนนโยบายพิเศษ สช. นางสาว วรลักษณ์ สุธีรวรรธนา ผู้อำนวยการกองวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ คุณเหลียน เฉิน(Ms.Lian Chen) ผู้อำนวยการสถาบันขงจื่อฝ่ายจีน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เข้าร่วมและกล่าวสนับสนุนโครงการในครั้งนี้

นายทวีศักดิ์ อำลา ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านนโยบายและแผนสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กล่าว “ภาษาจีน เป็นภาษาต่างประเทศที่สำคัญภาษาหนึ่งของโลกในยุคปัจจุบัน เนื่องจากสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นประเทศมหาอำนาจที่มีบทบาทสำคัญทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ดังนั้น การใช้ภาษาจีนเพื่อการสื่อสารจึงเป็นที่นิยมและเป็นภาษาที่สำคัญที่ใช้          ในการติดต่อทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ทั้งในเวทีระหว่างประเทศและการก้าวเข้าสู่     ประชาคมอาเซียน กระทรวงศึกษาธิการจึงกำหนดนโยบายส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีน       โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพด้านภาษาจีนให้กับครูผู้สอนและผู้เรียน เสริมสร้างความรู้ ทักษะและวัฒนธรรมจีนในเชิงลึก ยกระดับเทคนิคการสอนภาษาจีนระดับสูงให้ครูไทยสอนภาษาจีนมีความรู้และความสามารถ กระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบกิจกรรม    การสอน ตลอดจนสามารถจัดทำและพัฒนาสื่อการเรียนการสอนภาษาจีน เพื่อนำไปถ่ายทอดให้กับผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ผู้เรียนสามารถยกระดับทักษะภาษาจีนของตนเอง”

นางสาว วรลักษณ์ สุธีรวรรธนา ผู้อำนวยการกองวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าว “ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 เบาบางลง การเรียนการสอนได้ปรับรูปแบบกลับคืนสู่การจัดการเรียนการสอนแบบออนไซต์และแบบผสมผสานตามสถานการณ์จริง ทำให้คณะครูผู้สอนต้องมีการเตรียมความพร้อมในหลายๆด้าน โดยเฉพาะการจัดทำและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ที่มีความน่าสนใจ ทันสมัยและสามารถใช้ในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนได้จริง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งความท้าทายใหม่ที่ทุกท่านต้องเผชิญหลังยุคโควิด 19”

การอบรมในครั้งนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 17-18 กันยายน 2565 รวมระยะเวลา 2 วัน โดยเนื้อหาการอบรมเจาะลึกในด้านการออกแบบสื่อการเรียนการสอนภาษาจีนระดับประถมศึกษาในภาคเหนือ โดยมีวัตุประสงค์ เพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะด้านภาษาจีน ยกระดับเทคนิคการสอนภาษาจีนผ่านการสร้างสรรค์กิจกรรมการเรียนการสอนภาษาจีนในห้องเรียนที่หลากหลาย และสามารถจัดทำและพัฒนาสื่อการเรียนการสอนภาษาจีนเพื่อกระตุ้นความสนใจของผู้เรียนที่มีความสอดคล้องกับสถานการณ์จริง สามารถวางแผนการสอนผ่านกิจกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยกระดับคุณภาพการเรียนการสอนในช่วงระหว่างการเปลี่ยนช่วงชั้นจากระดับอนุบาลสู่ระดับประถมศึกษาในโรงเรียนต่างๆที่อยู่ภายใต้สังกัด สช. อาทิ โรงเรียนนานาชาติ โรงเรียนสอนภาษาจีน และโรงเรียนเอกชนต่างๆ ให้สามารถดำเนินไปได้ด้วยความราบรื่นและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

บจก.สิโนไทย เอ็ดดูเคชั่น เทคโนโลยี จำกัด เรามุ่งเน้นในการพัฒนาบุคลากรครูสอนภาษาจีนชาวไทย ผลักดันการพัฒนาอาชีวศึกษาระหว่างไทย-จีน และส่งเสริมโครงการแลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนธรรมระหว่างไทย-จีน เรารู้สึกเป็นเกียรติอย่างสูงที่ได้รับเชิญให้ร่วมเป็นผู้จัดโครงการอบรมเพื่อจัดทำและพัฒนาสื่อการเรียนการสอนภาษาจีนสำหรับครูไทยสอนภาษาจีนระดับประถมศึกษาในภาคเหนือ จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนร่วมกับสถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นับเป็นหน่วยงานต้นแบบความร่วมมือที่สำคัญของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ในด้านการพัฒนาและประชาสัมพันธ์โครงสร้างหลักสูตรการอบรมครูไทยสอนภาษาจีนที่ครอบคลุมตั้งแต่ระดับอนุบาล ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา เรายินดีสนับสนุนในด้านเทคโนโลยีการศึกษาและแพลตฟอร์มการเรียนรู้สมัยใหม่ เพื่อร่วมกันพัฒนาและบ่มเพาะทัพยากรครูไทยสอนภาษาจีนให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น ความสำเร็จของการอบรมในครั้งนี้จะเป็นต้นแบบของการพัฒนาและขยายโครงการอบรมครูและนักเรียนไปยังเขตพื้นที่การศึกษาอื่นๆที่อยู่ภายใต้สังกัด สช. ตั้งแต่อนุบาล ประถมศึกษา และมัธยมศึกษาต่อไปในอนาคต

 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้